วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Ontology คือ?

จากอาทิตย์ที่แล้ว อาจารย์ได้สอนเรื่องOntologyไว้
เลยลองหาบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ดู
ก็เอามาให้เพื่อนๆลองอ่านดูนะ
------------------------------------

Ontology คืออะไร

วันจันทร์, กรกฎาคม 9th, 2007

Ontology คืออะไร เกี่ยวข้อง และมีความสัมพันธ์ยังไงกับโลก IT ในปัจจุบัน

ออนโทโลยีมีผู้ให้คำจำกัดความไว้หลากหลายทั้งสาขาปรัชญาและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) โดยความหมายของออนโทโลยีของสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง วิธีการบรรยายแนวความคิดตามขอบเขตที่สนใจ หรือข้อกำหนดที่เกี่ยวกับแนวคิด (The Specification of a Conceptualization) โดยที่ออนโทโลยีเป็นการสร้างโครงสร้างฐานความรู้ทางด้านใดด้านหนึ่ง หรือขอบเขต(Domain) ใดขอบเขตหนึ่ง ซึ่งมีแนวคิดและความเข้าใจตรงกัน ออนโทโลยีใช้ในการอธิบายความหมายของสิ่งต่าง ๆ และสามารถจัดหมวดหมู่เอกสารของข้อมูลได้ในขอบเขตความสนใจหนึ่ง ๆ ซึ่งในปัจจุบันออนโทโลยีได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานมากยิ่งขึ้น สามารถประยุกต์กับงานหลาย ๆ ด้าน เช่น เว็บ เชิงความหมาย (Semantic Web) การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) ธุรกิจอิเล็คทรอนิกส์ (e-Business) พาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ (e-Commerce) และการค้นคืนสารสนเทศ

ออนโทโลยีถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจำกัดองค์ความรู้ (Knowledge) ของขอบเขตข้อมูลนั้น ๆ โดยมีความสามารถในการใช้ข้อมูลร่วมกัน (Share) สามารถนำข้อมูลกลับมาใช้ได้ (Reuse) และมีความสามารถในการถ่ายทอดคุณสมบัติ (Inheritance) การนำออนโทโลยีมาใช้งานจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการแชร์ข้อมูล และแยกองค์ความรู้ออกจากฐานข้อมูล

ออนโทโลยีเป็นลักษณะ฿าษาที่นำมาใช้บรรยายโครงสร้างและความสัมพันธ์ของระบบผ่านโหนดแบบลำดับชั้น(Hierarchies) ภาษาดังกล่าวถูกนำมาใช้ในงานหลายด้าน โดยเฉพาะด้านปัญญาประดิษฐ์ ในปัจจุบันได้กำหนดภาษามาตรฐานที่ใช้จำลองและออกแบบโครงสร้างของเอกสารเอ็กซ์เอ็มแอล (XML) โดยใช้นิยามแนวคิดให้อยู่ในรูปของกฎ (Role) คลาส (Class) ความสัมพันธ์ระหว่างคลาส (Relation) และคุณสมบัติของคลาส (Properties) แล้วนำเสนอออกมาในรูปของโหนด และความสัมพันธ์แบบลำดับชั้น

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การจัดการความรู้ในมุมมองของไอที

เห็นบทความนี้มันน่าสนใจดี ก็เลยคัดบางส่วนเอามาให้เพื่อนๆลองอ่านกัน...

เขียนโดย สมชาย นำประเสริฐชัย
พสิษฐิ์ กาญจนสัณห์เพชร

จากยุคสารสนเทศสู่ยุคของความรู้

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ ในปลายยุค 80 ได้มีการพัฒนาระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ขึ้นมาเพื่อช่วยควบคุมการบริหารงานทั่วทั้งองค์กร เพื่อช่วยให้การดำเนินการภายในองค์กรมีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกันดีขึ้น ในช่วงระยะเวลา10 ปีที่ผ่านมา ระบบ ERP มีการพัฒนาให้สามารถรองรับการบริหารงานทั้งภายในองค์กรและเชื่อมโยงกับองค์กรภายนอก อื่นๆได้มากขึ้น ระบบเดิมซึ่งเน้นการเก็บข้อมูลเข้าระบบก็มีการพัฒนานำข้อมูลที่มีอยู่ในระบบมาประมวลให้เกิดความรู้เพื่อช่วยในการตัดสินใจและการบริหารงาน เช่นระบบ Data Warehouse, ระบบ Business Intelligence เป็นต้น
ตั้งแต่ปลายยุค 90 จนถึงปัจจุบันมีการกล่าถึงระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management หรือ KM) กันมากในแวดวงการศึกษา องค์กรวิจัยและทางธุรกิจ ปัจจุบันมีโปรแกรมหลายประเภทถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อช่วยบริหารความรู้ขององค์กร โปรแกรมเหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นมาบนทฤษฎีของการจัดการความรู้ที่คล้ายๆ กัน ทำให้ซอร์ฟแวร์เหล่านี้มีลักษณะการทำงานที่สอดคล้องกันและตอบสนองความต้องการขององค์กรอย่างมาก

บทบาทหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารองค์ความรู้ในองค์กรคือเป็นเครื่องมือสนับสนุน
ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากระบบอื่นๆ ที่มีใช้อยู่ในองค์กรเช่น e-mail,ERP ,CRM ,Web Board
หน้าที่ทีสำคัญอีกอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบการจัดการความรู้ คือเป็นตัวกลางที่ทำให้
เกิดการเชื่อมโยงและทำงานร่วมกัน (Communication & Collaboration) ของผู้ที่ต้องการความรู้กับองค์ความรู้
นอกจากนี้ยังเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ยังเข้ามาทำหน้าที่หลัก ๆ ในการช่วยบริหารองค์ความรู้ คือการรวบรวม การจัดเก็บ และการนำความรู้ไปใช้งาน กระบวนการเหล่านี้จะเป็นการจัดการกับองค์ความรู้เก่า หรือความรู้ ที่อยู่ในพนักงานบางคน (Personal knowledge) บางกลุ่มในองค์กร ให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้อย่างทั่วถึงทั้งองค์กร (Organizational knowledge) จะเห็นได้ว่า "โดยเพียงลำพังระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเองแล้วไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆเพื่อที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อให้เกิด สินค้า, บริการ หรือกระบวนการทำงานใหม่ที่ดีขึ้น ทั้งหมดนี้จะมีได้ขึ้นอยู่กับการจัดการความรู้โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนสนับสนุน"


ถ้าเพื่อนๆสนใจ อยากอ่านฉบับเต็มก็เข้าไปที่ link นี้ได้เลย

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

SECI Model คือ??


จากที่เรียนในclass ได้ยินอาจารย์พูดถึง SECI Model เลยสงสัยว่ามันคืออะไรนะ
ก็เลยมาลองหาข้อมูลดู ก็เจอข้อมูลที่น่าสนใจ เลยลองเอามาให้เพื่อนๆได้ศึกษากันนะคะ

SECI Model ซึ่งเป็นกระบวนการในการสร้างความรู้ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่าง ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) ที่ประกอบด้วย 4 กระบวนการที่เป็นพลวัตร ได้แก่
S = Socialization แสดงการถ่ายโอนความรู้กันโดยตรงระหว่างกลุ่ม หรือบุคคล ทีมความรู้พื้นฐานความสนใจที่สอด คลองกัน หรือมีคลืนความถีทสอสารทําความเข้าใจกันได้โดยง่าย สามารถทําให้เกิดขึ้นได้ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
E = Externalization แสดงให้เห็นการเรียนรู้ แสวงหาสิงใหม่ๆ จากภายนอกเพิ่มเข้ามาเพื่อให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยน แปลง รวมทังประสบการณ์ตรงที่สมผัสกับลูกค้า ผู้ใช้บริการ ผู้ทําธุรกิจกับองค์กร เป็นความรู้ที่สําคัญต่อความสามารถในการแข่งขันและดํารงอยู่ขององค์กร
C = Combination เชื่อมโยงความรู้ภายในกับความรู้ภายนอก แล้วหาแนวปฏิบัติที่ดีที่เหมาะสมกับเรา ในส่วนนี้ผู้ที่ มีความสามารถใชภาษาในการสื่อสารที่ดี จะช่วยสรุปองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับองค์กรได
I = Internalization เป็นผลของการเชื่อมโยงแล้วนําความรู้มาปฏิบัติเกิดเป็นความรู้ประสบการณ์และปัญญาฝังอยู่ในตัวคน กลายเป็น Tacit Knowledge เพือนําไปถ่ายทอดหมุนเวียนต่อไป


- บังเอิญไปเจอข้อมูลที่เกี่ยวกับ SECI Model มีตัวอย่างการใช้โมเดลด้วย เพื่อนๆลองเข้าไปดูได้นะคะ^^

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

What is Wave 4 ?

คลื่นลูกที่ 4 คืออะไร ?? คำถามนี้เป็นคำถามใน Class เรียนแรกที่เราได้เรียน KM กัน
สำหรับตัวข้าพเจ้าแล้ว ไม่ว่าจะคลื่นลูกที่เท่าไหร่ ก็ยังแอบสงสัยว่ามันคืออะไรกัน?
แต่เมื่อจบ Class ในวันนั้น ก็ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจกับนิยามของคลื่นลูกต่างๆมากขึ้น
หัวข้อ Entry ในวันนี้จึงอยากลองสรุปเรื่องนี้ดูค่ะ เพื่อที่เราจะได้มาแชร์ความเข้าใจกัน ยังไงก็ลองอ่านและเสนอแนะเพิ่มเติมกันดูนะค่ะ

คลื่นลูกที่ 1 (Wave 1) การปฏิวัติเกษตรกรรม สำหรับคลื่นลูกนี้ใช้เวลานับ 1,000 ปี จึงจะแสดงความเป็นตัวเองได้ออกมาอย่างเด่นชัด

คลื่นลูกที่ 2 (Wave 2) ยุคอุตสาหกรรมเฟื่องฟู สำหรับยุคนี้ใช้เวลาเพียง 300 ปี และเป็นรากฐานในการกระโดดก้าวข้ามเข้าสู่ยุคต่อไป

คลื่นลูกที่ 3 (Wave 3) ยุคของ Information Technology เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ ในยุคนี้เราใช้เวลาเพียงหนึ่งถึงสองทศวรรษเท่านั้นก็เห็นความต่างระหว่างยุคได้อย่างชัดเจน

เมื่อเราได้รู้จักคลื่นทั้ง 3 ลูกแล้ว เรามาทำความรู้จักกับคลื่นลูกที่ 4 กันบ้าง ซึ่งคลื่นลูกที่ 4 นี้แต่ละที่จะกำหนดลักษณะรูปแบบของคลื่นลูกนี้ออกไปแตกต่างกัน ซึ่งใน Entry นี้ จะขออ้างอิงรูปแบบของคลื่นลูกที่ 4 ตามที่อาจารย์ได้บรรยายใน Class นะค่ะ

คลื่นลูกที่ 4 (Wave 4) คลื่นของแรงงานมนุษย์ ไม่มียุคใดเลยที่มีคนมากมายขนาดนี้ แรงงานมนุษย์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการใช้แรงงานในงานอุตสาหกรรม แต่หมายถึงการใช้มันสมอง การคิดวิเคราะห์ การใช้ลักษณะของความเป็นมนุษย์อื่นๆ เอามาใช่เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ เช่น หมอที่มีความรู้เฉพาะทางมากๆ ก็จะมีค่าตอบแทนต่อความรู้ที่มีสูง หรืออย่างตัวอย่างที่เราจะเห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ การแสดง Concert ของ Super Star ต่างๆ งานเกิดจาก Super Star ซึ่งถือว่าเป็นคนเป็นผู้ผลิต(คอย Entertainer ผู้ชม) ผู้ชมก็ถือเป็นผู้บริโภค ซึ่งจากลักษณะที่กล่าวถึงนั้นทำให้เราได้รู้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคนี้ได้อย่างรวดเร็วมาก อาจเป็นเพราะวัฒนธรรมของเราที่เปิดรับทุกอย่าง หรือปัจจัยแวดล้อมทางสังคมที่บังคับให้เราเข้าสู่คลื่นลูกนี้ไปอย่างไม่รู้ตัว

ตอนนี้เราทุกคนก็ได้รู้จักกับคลื่นทั้ง 4 ลูกไปแล้ว บางที่ได้มีการอ้างอิงแล้วด้วยว่าแล้วกำลังจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคของคลื่นลูกที่ 5 (คลื่นของปรัชญาสังคม) แล้ว ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้านั้น มีความเห็นว่าคลื่นลูกนี้มีความใกล้เคียงกับคลื่นลูกที่ 4 มาก คือใช้ทักษะของความเป็นมนุษย์มาก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม

อย่างไรก็ดีไม่ว่าโลกจะก้าวข้ามเข้าสู่ยุคไหนๆ เราก็ควรจะปรับเปลี่ยนรูปแบบชีวิตให้ดำเนินต่อไปได้อย่างเหมาะสม การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ใช่เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ถูกกระแสเหล่านั้นกลืนกิน หากแต่เราควรเปลี่ยนแปลงชีวิตให้สามารถอยู่ได้โดยรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิด และรู้ว่าควรจัดการอย่างไรให้เหมาะกับกระแสของคลื่นในยุคนั้นๆ

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สวัสดีจ้า สมาชิก Worker ทุกคน

สวัสดีจ้า สมาชิก Worker ทุกคน
เราก็มีblog ของกลุ่มกันแล้วอะนะ
ก็หวังว่าเพื่อนๆจะใช้ประโยชน์จากblogนี้
เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กานนะจ๊ะ

วันนี้ก็มารายงานตัวแค่นี้ก่อนละกาน
เอาไว้วันหน้ามีอารายใหม่ๆจะมาเล่าสู่กันฟังนะจ๊ะ^^


ยินดีต้อนรับเข้าสู่ We're Worker blog ค่ะ

We're Worker blog จัดทำขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้
ของสมาชิกภายในกลุ่มและผู้เยี่ยมชมทุกท่านค่ะ

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

1. นายอติคุณ คงชม รหัสนักศึกษา 50070010
2. นางสาวณัฐธยาน์ ไทยวิบูลย์ รหัสนักศึกษา 50070039
3. นางสาวพิมพ์ชนก เพชรคุ้มพล รหัสนักศึกษา 50070056
4. นางสาวกมลสุภาว์ สุขพาศรี รหัสนักศึกษา 50070082
5. นายวศิน อยู่นาน รหัสนักศึกษา 50070088

บล็อคนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา INTRODUCTION TO KNOWLEDGE MANAGEMENT
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง