วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

What is Wave 4 ?

คลื่นลูกที่ 4 คืออะไร ?? คำถามนี้เป็นคำถามใน Class เรียนแรกที่เราได้เรียน KM กัน
สำหรับตัวข้าพเจ้าแล้ว ไม่ว่าจะคลื่นลูกที่เท่าไหร่ ก็ยังแอบสงสัยว่ามันคืออะไรกัน?
แต่เมื่อจบ Class ในวันนั้น ก็ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจกับนิยามของคลื่นลูกต่างๆมากขึ้น
หัวข้อ Entry ในวันนี้จึงอยากลองสรุปเรื่องนี้ดูค่ะ เพื่อที่เราจะได้มาแชร์ความเข้าใจกัน ยังไงก็ลองอ่านและเสนอแนะเพิ่มเติมกันดูนะค่ะ

คลื่นลูกที่ 1 (Wave 1) การปฏิวัติเกษตรกรรม สำหรับคลื่นลูกนี้ใช้เวลานับ 1,000 ปี จึงจะแสดงความเป็นตัวเองได้ออกมาอย่างเด่นชัด

คลื่นลูกที่ 2 (Wave 2) ยุคอุตสาหกรรมเฟื่องฟู สำหรับยุคนี้ใช้เวลาเพียง 300 ปี และเป็นรากฐานในการกระโดดก้าวข้ามเข้าสู่ยุคต่อไป

คลื่นลูกที่ 3 (Wave 3) ยุคของ Information Technology เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ ในยุคนี้เราใช้เวลาเพียงหนึ่งถึงสองทศวรรษเท่านั้นก็เห็นความต่างระหว่างยุคได้อย่างชัดเจน

เมื่อเราได้รู้จักคลื่นทั้ง 3 ลูกแล้ว เรามาทำความรู้จักกับคลื่นลูกที่ 4 กันบ้าง ซึ่งคลื่นลูกที่ 4 นี้แต่ละที่จะกำหนดลักษณะรูปแบบของคลื่นลูกนี้ออกไปแตกต่างกัน ซึ่งใน Entry นี้ จะขออ้างอิงรูปแบบของคลื่นลูกที่ 4 ตามที่อาจารย์ได้บรรยายใน Class นะค่ะ

คลื่นลูกที่ 4 (Wave 4) คลื่นของแรงงานมนุษย์ ไม่มียุคใดเลยที่มีคนมากมายขนาดนี้ แรงงานมนุษย์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการใช้แรงงานในงานอุตสาหกรรม แต่หมายถึงการใช้มันสมอง การคิดวิเคราะห์ การใช้ลักษณะของความเป็นมนุษย์อื่นๆ เอามาใช่เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ เช่น หมอที่มีความรู้เฉพาะทางมากๆ ก็จะมีค่าตอบแทนต่อความรู้ที่มีสูง หรืออย่างตัวอย่างที่เราจะเห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ การแสดง Concert ของ Super Star ต่างๆ งานเกิดจาก Super Star ซึ่งถือว่าเป็นคนเป็นผู้ผลิต(คอย Entertainer ผู้ชม) ผู้ชมก็ถือเป็นผู้บริโภค ซึ่งจากลักษณะที่กล่าวถึงนั้นทำให้เราได้รู้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคนี้ได้อย่างรวดเร็วมาก อาจเป็นเพราะวัฒนธรรมของเราที่เปิดรับทุกอย่าง หรือปัจจัยแวดล้อมทางสังคมที่บังคับให้เราเข้าสู่คลื่นลูกนี้ไปอย่างไม่รู้ตัว

ตอนนี้เราทุกคนก็ได้รู้จักกับคลื่นทั้ง 4 ลูกไปแล้ว บางที่ได้มีการอ้างอิงแล้วด้วยว่าแล้วกำลังจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคของคลื่นลูกที่ 5 (คลื่นของปรัชญาสังคม) แล้ว ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้านั้น มีความเห็นว่าคลื่นลูกนี้มีความใกล้เคียงกับคลื่นลูกที่ 4 มาก คือใช้ทักษะของความเป็นมนุษย์มาก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม

อย่างไรก็ดีไม่ว่าโลกจะก้าวข้ามเข้าสู่ยุคไหนๆ เราก็ควรจะปรับเปลี่ยนรูปแบบชีวิตให้ดำเนินต่อไปได้อย่างเหมาะสม การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ใช่เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ถูกกระแสเหล่านั้นกลืนกิน หากแต่เราควรเปลี่ยนแปลงชีวิตให้สามารถอยู่ได้โดยรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิด และรู้ว่าควรจัดการอย่างไรให้เหมาะกับกระแสของคลื่นในยุคนั้นๆ

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอเสริมนิดนึงนะคะ

    ในยุคการปฏิวัติเกษตรกรรม ในคลื่นลูกแรกนั้น มนุษย์จะรู้จักการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนถาวร มีการปลูกพืช ทำไร่ ทำนา เป็นต้น

    ส่วนในยุคอุตสาหกรรม ของคลื่นลูกที่สอง ก็มีการคิด ประดิษฐ์เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ การทำงานในโรงงานเข้ามาแทนที่เกษตรกรรมค่ะ

    พอดีเราได้ไปอ่านเจอบทความนึง ชื่อ"คลื่นลูกที่ 4 และปัญหาโลกแตก" ซึ่งก็น่าสนใจดี เพื่อนๆลองเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้นะคะ
    ที่ http://sawaiboonma.com/talk-to-reader-05/comment-page-1

    ตอบลบ