เขียนโดย สมชาย นำประเสริฐชัย
พสิษฐิ์ กาญจนสัณห์เพชร
จากยุคสารสนเทศสู่ยุคของความรู้
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ ในปลายยุค 80 ได้มีการพัฒนาระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ขึ้นมาเพื่อช่วยควบคุมการบริหารงานทั่วทั้งองค์กร เพื่อช่วยให้การดำเนินการภายในองค์กรมีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกันดีขึ้น ในช่วงระยะเวลา10 ปีที่ผ่านมา ระบบ ERP มีการพัฒนาให้สามารถรองรับการบริหารงานทั้งภายในองค์กรและเชื่อมโยงกับองค์กรภายนอก อื่นๆได้มากขึ้น ระบบเดิมซึ่งเน้นการเก็บข้อมูลเข้าระบบก็มีการพัฒนานำข้อมูลที่มีอยู่ในระบบมาประมวลให้เกิดความรู้เพื่อช่วยในการตัดสินใจและการบริหารงาน เช่นระบบ Data Warehouse, ระบบ Business Intelligence เป็นต้น
ตั้งแต่ปลายยุค 90 จนถึงปัจจุบันมีการกล่าถึงระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management หรือ KM) กันมากในแวดวงการศึกษา องค์กรวิจัยและทางธุรกิจ ปัจจุบันมีโปรแกรมหลายประเภทถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อช่วยบริหารความรู้ขององค์กร โปรแกรมเหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นมาบนทฤษฎีของการจัดการความรู้ที่คล้ายๆ กัน ทำให้ซอร์ฟแวร์เหล่านี้มีลักษณะการทำงานที่สอดคล้องกันและตอบสนองความต้องการขององค์กรอย่างมาก
บทบาทหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารองค์ความรู้ในองค์กรคือเป็นเครื่องมือสนับสนุน
ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากระบบอื่นๆ ที่มีใช้อยู่ในองค์กรเช่น e-mail,ERP ,CRM ,Web Board
หน้าที่ทีสำคัญอีกอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบการจัดการความรู้ คือเป็นตัวกลางที่ทำให้
เกิดการเชื่อมโยงและทำงานร่วมกัน (Communication & Collaboration) ของผู้ที่ต้องการความรู้กับองค์ความรู้
นอกจากนี้ยังเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ยังเข้ามาทำหน้าที่หลัก ๆ ในการช่วยบริหารองค์ความรู้ คือการรวบรวม การจัดเก็บ และการนำความรู้ไปใช้งาน กระบวนการเหล่านี้จะเป็นการจัดการกับองค์ความรู้เก่า หรือความรู้ ที่อยู่ในพนักงานบางคน (Personal knowledge) บางกลุ่มในองค์กร ให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้อย่างทั่วถึงทั้งองค์กร (Organizational knowledge) จะเห็นได้ว่า "โดยเพียงลำพังระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเองแล้วไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆเพื่อที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อให้เกิด สินค้า, บริการ หรือกระบวนการทำงานใหม่ที่ดีขึ้น ทั้งหมดนี้จะมีได้ขึ้นอยู่กับการจัดการความรู้โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนสนับสนุน"
ถ้าเพื่อนๆสนใจ อยากอ่านฉบับเต็มก็เข้าไปที่ link นี้ได้เลย